เชียงใหม่

4.ของดีประจำจังหวัดเชียงใหม่


 1. แค๊บหมู 
            หากจะนึกถึงของฝาก จากเชียงใหม่ แค๊บหมู ก็จะอยู่ในกลุ่มบรรดาของฝากที่ เราจะต้องติดไม้ติดมือ กลับมาแจกแก่ ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ แค๊บหมู จัดว่าเป็นอาหารแปรรูปของชาวเหนือ ขันโต หรือจะเป็นอาหารที่มีเครื่องน้ำพริก หรืออาหารรสจัด ก็จะต้องมีแค๊บหมู ร่วมอยู่ในสำรับอาหารด้วย ทุกครั้ง แค๊บหมูสันป่าตอง ทางเลือกหนึ่ง สำหรับเป็นของฝากจากเชียงใหม่
            อาหารประเภทยำ ยำฉงนกับแค๊บหมูติดมัน เมนูเด็ดของภาคกลางอย่างหนึ่ง ดูแล้วแค๊บหมู แค๊บหมูติดมัน สามารถนำมาประยุกต์ ในการทำอาหารได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็น ยำ แกง ของเครื่องเคียง หรือ กินเล่น ความมัน ความกรอบ ของแค๊บหมูติดมัน
            แค๊บหมูจัดว่าเป็นอาหารแห้ง นำเป็นของฝาก แก่เพื่อนๆ ญาติพี่น้อง คนสนิทได้ ทางเลืือกหนึ่งของนักชิมแค๊บหมูติดมัน ผลิตเน้นเรื่อง คุณภาพ รสชาติ ความกรอบอร่อย เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ขนาดเล็ก  ผลิตเพียง 100 กิโลกรัม ต่อวัน แค๊บหมู ทำใหม่ทุกวัน จำหน่ายทุกวัน ไม่มีของค้าง

 2. มะม่วงเชียงใหม่
            สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่ายชาวสวนมะม่วง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีกำหนดจัดงาน “วันมะม่วง และของดีเมืองเชียงใหม่” โดยในปีนี้ ได้กำหนดการจัดงานวันมะม่วงและของดีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน 2557 ณ ลานข้างอาคารศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
            โดยในปีนี้กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การแสดงความหลากหลายสายพันธุ์มะม่วงในจังหวัดเชียงใหม่ กว่า 120 สายพันธุ์ การประกวดผลผลิตมะม่วง 10 สายพันธุ์ และมะม่วงผลยักษ์ การประกวดส้มตำมะม่วงลีลา การแปรรูปผลผลิตมะม่วง การแสดงและจำหน่ายผลผลิตมะม่วงคุณภาพดีมาตรฐานส่งออก ราคายุติธรรม หลากหลายพันธุ์ ตลอดงาน การออกร้านแสดงสินค้าชุมชน สินค้าวิสาหกิจชุมชน และสินค้ากลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 25 อำเภอ
            นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการให้ความรู้ด้านการผลิต การขยายพันธุ์มะม่วง การแปรรูป การตลาด และนวัตกรรม-เทคโนโลยีทางการเกษตรจากภาครัฐ และเอกชน โดยคาดว่าจะมีผู้เยี่ยมชมตลอด 3 วัน มากกว่า 10,000 คน
            นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ การผลิตมะม่วงในภาพรวม ปัจจุบันมีเนื้อที่ยืนต้น 72,791 ไร่ เนื้อที่ให้ผลผลิต 54,427 ไร่ เกษตรกรปลูกมะม่วงมีจำนวนผู้ปลูกทั้งหมด 16,375 ราย ซึ่งเกษตรกรเป็นรายย่อย ผลผลิตโดยรวมประมาณ 42,936 ต้น มะม่วงสามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ ปัจจุบันการผลิต
มะม่วงจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทใช้รับประทานผลดิบ และใช้รับประทานผลสุก สภาพการปลูกมะม่วงในจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นเกษตรผู้ปลูกรายย่อยเป็นส่วนมาก สำหรับที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มการผลิตเพื่อการค้าและส่งออก มีกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ได้แก่ กลุ่มนายเจริญ คุ้มสภา อำเภอพร้าว, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงคุณภาพอำเภอเชียงดาวของนายสุวิทย์ อุตทาเศษ และชมรมผู้ปลูกมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ นายณรงค์ เจษฏาพันธุ์ ตลาดมะม่วงมี 2 ประเภท คือ ตลาดในประเทศ ได้แก่ ตลาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น ตลาดมหานาค ปากคลองตลาด ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดตามจังหวัดต่างๆ และตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น
            จังหวัดเชียงใหม่ มีพันธุ์มะม่วงที่ปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์โชคอนันต์ น้ำดอกไม้ แก้ว มหาชนก เป็นต้น ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงส่งออกต่างประเทศอยู่ในเขตอำเภอพร้าว แม่แตง และเชียงดาว ผลผลิตมะม่วงของจังหวัดเชียงใหม่ จะออกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูการผลิตมะม่วงประจำปีของประเทศไทย ทำให้มีราคาดี โดยผลผลิตมะม่วงในภาคกลางจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดังนั้น จึงควรผลิตมะม่วงให้ออกล่าฤดูเพื่อให้ได้ราคาดี โดยให้ผลผลิตมะม่วงออกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

 3. ร่มบ่อสร้าง
            “บ่อสร้างกางจ้อง” (จ้อง แปลว่า ร่ม) คำนี้ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมเรียกขานมานานจนติดปากไปแล้ว ถึงขั้นมีการนำไปใช้เป็นชื่อเพลงยอดนิยมของคุณทิวา ภูมิประเทศ (ทอม ดันดี) เลยทีเดียว
ที่มาของร่มบ่อสร้าง
            ความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องการทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง มีการบอกเล่ากันมา 2 ทางด้วยกัน
เรื่องแรก ก็คือ ในสมัยก่อนมีพระธุดงค์มาปักกลดที่บ้านบ่อสร้าง แล้วกลดที่ปักไว้นั้นใช้การไม่ได้เนื่องจากมีลมพายุพัดแรงมาก ชายชราผู้หนึ่งชื่อเผือกได้ซ่อมแซมให้จนใช้ได้ และได้นำมาเป็นตัวอย่างดัดแปลงทำร่มใช้ขึ้นในเวลาต่อมา อีกเรื่องหนึ่ง เล่าถึงที่มาของร่มบ่อสร้าง ประมาณ
กว่า 100 ปีมาแล้ว พระอินถาผู้เป็นภิกษุประจำสำนักสงฆ์วัดบ่อสร้างได้ธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปยังที่ต่าง ๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์เข้าไปใกล้ชายแดนพม่าและมีชาวพม่านำกลดมาถวาย ด้วยความที่ท่านมีความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ อยู่แล้ว รู้สึกชอบกลดที่ชาวบ้าน
นำมาถวายจึงสอบถามถึงที่มา ชาวพม่าที่นำกลดมาถวายได้เล่าให้ฟังว่า เมืองที่เขาอยู่นั้นมีการทำกลดกัน ท่านจึงเดินทางเข้าไปในเมืองพม่าแล้วได้เห็นจริงตามที่ขาวพม่าผู้นั้นบอก ท่านมีความเห็นว่ากลดซึ่งมีลักษณะเหมือนร่มนี้ใช้กันแดดกันฝนได้ ทำจากวัสดุที่หาง่าย และสามารถพกพา
ไปไหนต่อไหนได้สะดวก พระอินถาตั้งใจศึกษาฝึกฝนจนสามารถทำร่มหรือกลดชนิดนี้ได้ หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมายังบ้านบ่อสร้างเพื่อเผยแพร่วิธีการทำร่ม โดยใช้วัดเป็นโรงเรียน ชาวบ้านมาสนใจเรียนการทำร่มจำนวนมาก โดยฝ่ายชายศึกษาเรื่องการทำโครงร่มโดยใช้ไม้บงหรือไม้
ไผ่ ฝ่ายหญิงศึกษาเรื่องการทำกระดาษสาสำหรับใช้คลุมร่ม ไม่นานนักก็สามารถทำกันได้ จนกลายเป็นอาชีพหนึ่งรองจากการทำนา จึงเกิดเป็นหมู่บ้านทำร่มขึ้นมาโดยเฉพาะ จนบ่อสร้างมีชื่อเสียงในการทำร่มมาจนถึงทุกวันนี้
วิวัฒนาการของร่มบ่อสร้าง
            แรกเริ่มในสมัยที่พระอินถานำงานทำร่มกระดาษสามาเผยแพร่ที่บ้านบ่อสร้างนั้น ท่านใช้กระดาษสาที่ได้จากต้นปอสาของป่าแถมหมู่บ้าน ตัวโครงก็ใช้ไม้บง หัวและตุ้มหรือจุกร่มใช้ไม้ส้มเห็ด คันร่มใช้ไม้รวก มียางตะโกเป็นกาวแล้วทาทับกระดาษสาด้วยน้ำมันยางเพื่อกันแดดกันฝน ต่อ
มาก็ยังคงใช้โครงไม้บงหรือไม้ไผ่ แต่มีการนำพวกเปลือกไม้ ดินแดงและเขม่า ไปผสมยางไม้มาย้อมทาแทน จนเกิดเป็นสีดำและสีแดง ทุกขั้นตอนล้วนต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญ ชาวบ้านรุ่นนั้นทำร่มขึ้นเพื่อไปถวายวัดในเทศกาลงานบุญ หากทำได้จำนวนมากก็จะนำไปขายในเมืองเมื่อขายดี
เป็นที่นิยมก็มีการส่งเสริมการผลิตกันอย่างจริงจัง โดยเพิ่มการวาดสีสันลวดลายให้เกิดความงดงาม การทำร่มกระดาษสาจึงไม่ได้ทำขึ้นเพียงเพื่อใช้ในครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นอาชีพหลักของคนบ่อสร้างไปเสียแล้ว
            การทำร่มกระดาษสาที่บ้านบ่อสร้าง ต้องอาศัยวัสดุอุปกรณ์หลายอย่างซึ่งแน่นอนว่าคนบ่อสร้างไม่สามารถผลิตชิ้น ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ได้เองทั้งหมดดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแหล่งผลิตอื่นที่ต้องทำ อุปกรณ์มาขาย ให้แก่บ่อสร้างโดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ หมู่บ้านต้นเปารับหน้าที่ทำกระดาษสา บ้านแม่ฮ้อยเงินทำด้ามร่ม บ้านต้นแหนทำโครงร่ม ซี่ร่ม ฯลฯในช่วงแรกโครงเหล็กใช้ผ้าใบหรือพลาสติกแพร่หลายเข้ามาทำให้ร่มกระดาษสาบ่อสร้างเกือบเลิกการผลิตไปเหมือนกัน ชาวบ้านที่เคยยึดอาชีพทำร่มต้องหันไปประกอบอาชีพอื่น แต่ไม่นานนักก็มีผู้ตั้งศูนย์หัตถกรรมการทำร่มบ่อสร้างขึ้น ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นแหล่งผลิตร่มกระดาษสาบ่อสร้างจึงคืนสู่สังเวียน หัตถกรรมชั้นแนวหน้าของเชียงใหม่อีกครั้งในฐานะสัญลักษณ์เมืองเชียงใหม่ อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดศูนย์หัตถกรรมร้านรวงใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย

 4. สตรอเบอร์รี่
            อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมจัดงานเทศกาลสตรอเบอร์รี่และของดีอำเภอสะเมิง ครั้งที่ 12 ประจำปี 2556 พบขบวนแห่รถสตรอเบอร์รี่ และการแข่งขัน รถฟอร์มูล่า ม้ง ในพิธีเปิดงาน นายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล นายอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า อำเภอสะเมิง กำหนดจัดงานเทศกาลสตรอเบอร์รี่และของดีอำเภอสะเมิง ครั้งที่ 12 ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2556 บริเวณที่ว่าการอำเภอสะเมิง เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่ และส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสะเมิง ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสตรอเบอร์รี่ การจำหน่ายสินค้า OTOP ประกวดธิดาสตรอเบอร์รี่ กาดหมั้วครัวฮอม การจัดนิทรรศการของหน่วยงาน ประกวดผลิตผลทางการเกษตร 
            การแสดงศิลปะกีฬาพื้นบ้าน และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 จะมีพิธีวิวาห์สตรอเบอร์รี่สะเมิง โดยการจดทะเบียนสมรสเนื่องในวันแห่งความรัก ณ สวนดอยแก้ว บ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ โดยกำหนดจัดพิธีเปิด ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. พบขบวนแห่รถสตรอเบอร์รี่ 
และ ช่วงบ่ายจะมีการแข่งขัน รถฟอร์มูล่า ม้ง ณ บริเวณหน้าโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูง อากาศเย็นเกือบทั้งปี มีชุมชนชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่จำนวนมาก อำเภอสะเมิง เป็นเมืองที่ยังคงความเป็นธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญอำเภอสะเมิงยังเป็นแหล่งปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและสตรอเบอร์รี่แหล่งสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

 5. แหนมอุ๊ยย่นเมืองเหนือ
              ในบรรดาของฝากจากเชียงใหม่ หนึ่งในสินค้าท็อปฮิต คือ อาหารเหนือ และในบรรดาอาหารเหนือ จะต้องมีแหนมติดอันดับต้นๆของฝากยอดนิยม และเมื่อเอ่ยถึงแหนม "ป้าย่น" คือ หนึ่งในใจของผู้นิยมบริโภคแหนม จนครองความเป็นเจ้าตลาดแหนมของเชียงใหม่มายาวนาน ป้าย่น หรือ นางย่น กาโล ได้เปิดขายอาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดในตลาดสันป่าข่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ และหนึ่งในอาหารขึ้นชื่อก็คือ "จิ้นส้ม" ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนในภาคเหนือและคนจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ส่วนคนในภาคอื่น จะเรียกว่า "แหนม" ซึ่งเป็นอาหารในร้านป้าย่นที่ได้รับความนิยมและยอมรับมากที่สุดทั้งคนใน จังหวัดเชียงใหม่เอง และนักท่องเที่ยวที่ซื้อกลับไปเป็นของฝาก โดยการบอกต่อปากต่อปาก จากนั้นเองได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ตราสินค้าว่า "แหนมป้าย่น" ของดิบๆ ที่ผ่านกระบวนการประยุกต์จากแม่ครัวพ่อครัวหัวใสใช่ว่า จะได้รับความนิยมเฉพาะ อาหารต่างประเทศเท่านั้น สำหรับเมืองเหนือบ้านเฮาก็มีของดีขึ้นโต๊ะหรู และได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน อาหารเรียกน้ำย่อยที่ขึ้นชื่อของเมืองเหนือที่รู้จักกันดีมาช้า
นานคือ แหนม ซึ่งได้รับความนิยมเคียงคู่มากับแค็บหมู ด้วยความที่หารับประทานง่าย รสชาติถูกปาก ไม่ต้องยุ่งยากในการปรุง แค่แกะออกจากห่อพลาสติกก็อร่อยได้แล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Home Page